top of page

ซิลิโคนแกนตั๊กแตน หรือ ซิลิโคนแมนทิส (Mantis Strut)

Mantis Strut

เป็นซิลิโคนที่มีรูปทรงคล้ายตั๊กแตน ออกแบบโดย นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ ศัลยแพทย์ตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้าที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปี  ซิลิโคนแกนตั๊กแตนถูกออกแบบมาให้เหมาะกับโครงสร้างจมูกของคนไทย อีกทั้งยังป้องกันการเบี้ยวและทะลุ  ซิลิโคนแกนตั๊กแตนได้จดสิทธิบัตรกับ  Patent &Trademark Office (PTO)  ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลก 


ข้อดีของการเสริมจมูกด้วยซิลิโคนแกนตั๊กแตน
เนื่องจากซิลิโคนแกนตั๊กแตนถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับโครงสร้างจมูกของคนไทย ป้องกันการเบี้ยวและทะลุจากการเหลาซิลิโคนแบบดั้งเดิม ขอบของซิลิโคนจะบางมาก เมื่อใส่เข้าไปในจมูก จึงไม่เห็นขอบของซิลิโคน ทำให้เมื่อเสริมจมูกแล้ว  ดูสวยเป็นธรรมชาติ  ไม่ดูหลอกตา

 

ส่วนต่างๆ ของแกนตั๊กแตนโดยย่อ
หาง
(Tail)

หาง มีไว้สำหรับกรณีที่จมูกเป็นขั้นที่บริเวณหัวตาตั้งแต่ก่อนเสริม และสำหรับป้องกันการเกิดขั้นที่บริเวณนี้หลังการเสริม  การเลือกรูปทรงของส่วนหางเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถกระทำได้ง่ายที่สุด  สิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษสำหรับส่วนหางคือความหนา การที่ส่วนหางหนาจะทำให้บริเวณหัวตาสูงผิดธรรมชาติ เวลาวางแกนตั๊กแตนเพื่อประเมินความยาว ส่วนโค้งด้านบนของหางจะต้องถูกวางอยู่เหนือบริเวณหัวตาพอดี ตำแหน่งนี้ถือเป็นตำแหน่งอ้างอิงสำหรับการประเมินความยาวของแกน เทียบกับความยาวของจมูกคนไข้

ท้อง (Ventral Groove)
ท้อง (ร่วมกับส่วนปีก)  เป็นส่วนที่ทำให้ตัวแกนสามารถวางอยู่บน Infrastructure ได้อย่างมั่นคง  สิ่งที่ศัลยแพทย์ผู้ใช้ Mantis ควรจะทำให้ได้จนชำนาญ คือ การเหลาให้ส่วนท้องเว้าเข้ารับกับ Dorsal Hump ของคนไข้

ปีกของลำตัว (Greater Wings)
ปีกของลำตัว  ทำให้ไม่เกิดรอยต่อด้านข้างของสันจมูก  ขอบล่างของปีกจะใกล้เคียงกับรูปทรงของขอบบนของ  Alar Cartilages  ทำให้สามารถวางได้อย่างเป็นธรรมชาติ  นั่นคือปีกคู่นี้ถูกออกแบบให้วางเหนือ Lateral Cartilages  โดยไม่ไปรบกวน  Alar Cartilages  ซึ่งจะทำให้การวางตัวของปีกคู่นี้ไม่บั่นทอนความสามารถในการขยับตัวของ Alar Cartilages ทำให้การวางตัวของปีกคู่นี้ไม่รบกวนการขยับปลายจมูก ยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีที่คนไข้ต้องการเสริมเพียงส่วนสันจมูก (กรณีที่จะไม่ใช้ส่วนหัว)  โค้งที่เข้ากันของส่วนปีกนี้จะทำให้ลำตัวซึ่งเป็นส่วนที่เหลือหลังจากการตัด สามารถวางตัวอยู่ได้ด้วยตัวของมันเองโดยไม่ต้องอาศัยการยันที่ใต้ปลายจมูก

สัน (Ridge)
สันของแกน  เป็นส่วนที่จะกำหนดรูปทรงของสันจมูก  การจะเลือกความกว้างของหลังจะต้องคำนึงถึงความหนาของผิวหนังเป็นสำคัญ ถ้าผิวหนังหนา ก็ไม่ควรจะใส่ส่วนหลังนี้ให้กว้าง เพราะสันจมูกอาจจะออกมากว้างเกิน  ทั้งนี้ทั้งน้้น ต้องนำส่วนอื่นๆ ของใบหน้าของคนไข้มาใช้ในการพิจารณาด้วย  สังเกตเพิ่มเติมว่าส่วนหลังของแกนตั๊กแตนจะมีลักษณะคล้ายหลังเต่า เลียนแบบ Dorsal Hump ของจมูก ทั้งนี้เพื่อชดเชยผิวหนังที่บางเป็นพิเศษบริเวณนี้  และเพื่อให้ได้สันจมูกที่ตรงได้โดยง่าย

คอ (Neck)
คอ  เป็นส่วนที่สำคัญต่อการทำให้เกิดความสามารถในการขยับปลายจมูกได้อย่างเป็นปกติ  คอที่บางจะทำให้สามารถขยับปลายจมูกได้ง่าย  สิ่งที่ควรจะรู้เกี่ยวกับคอ  คือ  ส่วนคอเป็นส่วนที่ควรจะบางกว่าส่วนอื่นเพราะผิวหนังส่วนนี้จะหนากว่าส่วนอื่น  การที่ใส่ซิลิโคนที่มีความหนาเท่ากันตลอดทางจะทำให้ส่วนนี้ของจมูกโก่งได้ สังเกตว่าด้านบนของส่วนคอของแกนตั๊กแตนได้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันความผิดพลาดนี้ คอของแกนจะไม่สูงเลยและเป็นส่วนที่มีจุดต่ำสุดจุดหนึ่งของด้านบนอยู่

หัว (Head, Lesser Wings and Leg)
อาจกล่าวได้ว่า หัวเป็นส่วนสำคัญที่สุดของสิ่งประดิษฐ์นี้  การมีปีกคู่ทำให้

  1. พื้นที่ผิวที่สัมผัสกับผิวหนังใต้ปลายจมูกเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งจะทำให้ผิวหนังบริเวณนี้ สามารถรับแรงดันจากซิลิโคนได้มากขึ้น  ส่งผลให้โอกาสที่จะทะลุที่บริเวณนี้ลดลงและสามารถต่อปลายจมูกได้ยาวกว่า

  2. มีส่วนที่สามารถวางอยู่บน  Alar Cartilages  ช่วยป้องกันไม่ให้ซิลิโคนตกลงไปในร่องระหว่าง  Alar Cartilages  ได้ดียิ่งขึ้น

  3. ส่วนหัวสามารถทรงตัวได้ด้วยตัวของมันเองหลังจากการพักฟื้น โดยไม่ขยับไปมาเมื่อถูกตัดแยกออกจากลำตัว  เพราะเนื้อเยื่อจะจับยึดส่วนปีกสามเหลี่ยมเหล่านี้ไว้  ไม่ให้ส่วนหัวขยับออกด้านข้างหรือขึ้นลง

 

การตัดส่วนหัวออกจากลำตัวสามารถทำให้แกนยาวขึ้นหรือสั้นลงได้  และป้องกันการทะลุใต้ปลายจมูกอย่างยิ่งยวด เพราะสาเหตุหลักของการทะลุใต้ปลายจมูก คือ แรงดันที่มากเกินจากการที่ซิลิโคนยันตั้งแต่ระหว่างหัวตายาวไปจนถึงปลายใต้จมูก  นอกจากนี้ส่วนหัวที่ถูกตัดออกจะวางอยู่บนกระดูกอ่อนปลายจมูก ซึ่งสามารถถูกเบียดกลับไปได้บ้างเพื่อให้เกิดสมดุลของแรงดัน  ไม่เหมือนกับซิลิโคนทั้งท่อนที่ยันกับกระดูกบริเวณหัวตา ท้ายที่สุด การใช้ส่วนหัวที่แยกกับส่วนลำตัวนี้ทำให้เราไม่จำเป็นต้องใช้กระดูกอ่อนหลังใบหู กระดูกอ่อนในจมูกหรือส่วนใดๆ ของร่างกายเพื่อมาป้องกันการทะลุที่ใต้ปลายจมูก

โดย : พญ.ณภากุล โรจนสุภัค ปริญญาโทสาขาตจวิทยา

แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.ramavadi.com

line
facebook
phone
bottom of page