กำจัดติ่งเนื้อ/กระเนื้อ
กำจัด "ติ่งเนื้อ" ด้วยเลเซอร์
โดยแพทย์
"ปลอดภัย ครั้งเดียวจบ คุมงบได้ ไม่มีแผลเป็น"
เอสคลินิก พร้อมให้คำปรึกษา และ
ให้บริการกำจัดติ่งเนื้อ/กระเนื้อ
สนใจกำจัดติ่งเนื้อ/กระเนื้อ สามารถส่งรูปให้แพทย์ประเมินการรักษา หรือ นัดหมายปรึกษา (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ภาพก่อน-หลัง การกำจัดติ่งเนื้อ/กระเนื้อ
รีวิวจากผู้ใช้บริการ
คุณเอม
คุณฝ้าย
อ่านรีวิว >> เลเซอร์กำจัดติ่งเนื้อ
คุณผิงอัน
ติ่งเนื้อ
Skin Tags/Acrochordon
ติ่งเนื้อ คือ ก้อนเนื้อที่มีลักษณะนุ่ม ซึ่งเกิดขึ้นมาและเป็นติ่งอยู่บนผิวหนัง มีสีและขนาดแตกต่างกันไป โดย
มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงประมาณ 2 นิ้ว ติ่งเนื้อไม่ใช่เนื้อร้าย และไม่กลายเป็นมะเร็งผิวหนัง โดยทั่วไปพบใน
บริเวณผิวหนังที่เป็นข้อพับ เช่น คอ รักแร้ ลำตัว ใต้ราวนม กลางลำตัว บริเวณผิวหนังที่ย่นทับกัน เปลือกตา
ต้นขาด้านใน หรือ บริเวณหัวหน่าว มักพบในคนที่มีอายุมากขึ้น และ มีแนวโน้มเกิดขึ้นกับผู้ที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ตั้งครรภ์ หรือ มีบุคคลในครอบครัวเคยเกิดติ่งเนื้อ และบริเวณที่มีการเสียดสีบ่อยๆ โดยปกติติ่งเนื้อไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใดๆ แต่อาจรู้สึกระคายเคืองบ้าง หากเสียดสีกับเสื้อผ้า หรือถ้าก้านที่ยึดติ่งเนื้อถูกบิด อาจทำให้รู้สึกเจ็บ
ผู้มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อ
-
ภาวะดื้ออินซูลิน ภาวะนี้คือภาวะที่นำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะน้ำตาลผิดปกติ (Prediabetes) โดยภาวะดื้ออินซูลินอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดติ่งเนื้อ เนื่องจากร่างกายดูดซึมน้ำตาลกลูโคสจากกระแสเลือดได้ไม่ดี ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้แสดงให้เห็นว่าติ่งเนื้อเกี่ยวเนื่องกับดัชนีมวลกายที่มาก ภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์สูง และภาวะดื้ออินซูลิน
-
ภาวะอ้วน ผู้ที่ประสบภาวะอ้วน จะป่วยเป็นโรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans) โดยโรคนี้จะเกิดติ่งเนื้อจำนวนมากตามผิวหนังบริเวณคอและรักแร้
-
การตั้งครรภ์ ติ่งเนื้ออาจเป็นผลข้างเคียงจากการตั้งครรภ์ เนื่องจากผู้ที่ตั้งครรภ์จะมีระดับฮอร์โมนและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ติ่งเนื้ออาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อและภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล
-
เชื้อเอชพีวี งานวิจัยบางชิ้นได้ศึกษาติ่งเนื้อจำนวน 37 ชิ้น ที่ขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย พบว่าติ่งเนื้อจำนวนร้อยละ 50 ปรากฏดีเอ็นเอของเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus: HPV) จึงกล่าวได้ว่าเชื้อเอชพีวีอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด
-
พันธุกรรม ผู้ที่บุคคลในครอบครัวเคยมีติ่งเนื้อขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย อาจเสี่ยงเกิดติ่งเนื้อได้
การรักษา
โดยทั่วไปแล้ว ติ่งเนื้อไม่ใช่เนื้อร้ายหรือกลายเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม ติ่งเนื้ออาจกลายเป็นภาวะก่อนเป็นมะเร็งหรือเป็นมะเร็ง ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก ผู้ที่ต้องการกำจัดติ่งเนื้อควรปรึกษาแพทย์ให้รอบคอบ ส่วนใหญ่แล้ว มักกำจัดติ่งเนื้อออกเพื่อความสวยงาม โดยมีวิธีรักษาหลายวิธี ดังนี้
-
ผ่าตัดติ่งเนื้อ วิธีนี้กำจัดติ่งเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็เสี่ยงเกิดเลือดออกได้มาก
-
บำบัดด้วยความเย็นจัด (Cryotherapy) วิธีนี้จะรักษาติ่งเนื้อด้วยอุณหภูมิเย็นจัด อีกทั้งยังใช้รักษาผิวหนังบริเวณที่เกิดอาการเจ็บปวดจากเส้นประสาท มะเร็งบางชนิด หรือเซลล์ผิวหนังที่เกิดความผิดปกติ โดยแพทย์จะสอดอุปกรณ์สำหรับรักษาเข้าไปข้างในเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่เส้นประสาทถูกทำลาย และลดอุณหภูมิของเครื่องมือจนเย็นจัด เพื่อแช่แข็งเส้นประสาท ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดหรือระคายเคือง
-
จี้ติ่งเนื้อ (Cauterization) วิธีนี้จะใช้ไฟจี้ติ่งเนื้อที่มีสีผิดปกติหรือทำให้เกิดการระคายเคืองให้หลุดออกไป
-
การใช้เลเซอร์ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ (Carbondioxide (CO2) Laser) ช่วยกำจัดติ่งเนื้อได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพสูง ก่อนทำมักจะทายาชาทิ้งไว้ 45 นาที เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บหรือปวด เนื่องจากเลเซอร์มีความละเอียดและแม่นยำสูงมาก จึงสามารถเลือกตัดเฉพาะเนื้อเยื่อที่ต้องการโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื้อรอบๆ รวมถึงมีผลในการหยุดเลือดบริเวณที่ผ่าตัด จึงทำให้แผลมีขนาดเล็ก ดูแลรักษาง่าย มีโอกาสเกิดแผลเป็นน้อย นอกจากนี้ ยังใช้ในการผ่าตัดรักษาโรคผิวหนัง และ เนื้องอกของผิวหนัง เช่น ไฝ ขี้แมลงวัน กระเนื้อ หูด เนื้องอกของต่อมไขมัน เนื้องอกของต่อมเหงื่อ สิวหัวปิด และสิวหิน ซึ่งทาง เอส คลินิกเวชกรรม ได้ใช้เลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในการกำจัดติ่งเนื้อ
การดูแลหลังการรักษาด้วย CO2 laser
-
ทายาตามที่แพทย์สั่ง
-
หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ อย่างน้อย 2-3 วัน
-
หลีกเลี่ยงแสงแดดแรง เป็นเวลา 2 สัปดาห์
-
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ร้อน และงดออกกำลังกายที่ทำให้มีเหงื่อ อย่างน้อย 2 สัปดาห์
-
ต้องทาครีมกันแดดทุกวัน
-
หลังการรักษาจะมีแผลตกสะเก็ด ห้ามแกะเกาสะเก็ดแผล โดยทั่วไปสะเก็ดแผลจะหลุดเองภายใน 7-14 วัน
-
ขณะที่มีแผลและหลังสะเก็ดหลุดใหม่ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือเครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว *** แผลจะหายภายใน 1-2 สัปดาห์ ในบางรายอาจนานถึง 3 สัปดาห์
คำแนะนำ
ไม่ควรกำจัดติ่งเนื้อด้วยตนเอง เช่น การดึงออกเอง อาจทำให้เลือดออกหรือมีแผลเป็นได้ และ การแต้มหรือจี้ด้วยกรดโดยผู้ที่ไม่ชำนาญ อาจทำให้เกิดแผลเป็นรุนแรงตามมาได้
โดย : พญ.ณภากุล โรจนสุภัค ปริญญาโทสาขาตจวิทยา.,
Fellowship Training in Cutaneous and Laser Surgery, Institute of Dermatology, Thailand