เส้นเลือดขอด (Varicose veins)
เกิดจากเส้นเลือดดำส่วนหนึ่งที่อยู่ใต้ผิวหนังมีการเสียความยืดหยุ่น ต่อมาเกิดมีการขยายตัวของเส้นเลือดดำทั้งด้านกว้างและยาว ทำให้เส้นเลือดคดเคี้ยวไปมา หรือ เห็นแตกเป็นฝอยแบบใยแมงมุมใต้ผิวหนัง บริเวณที่พบเส้นเลือดขอดได้บ่อยคือ ขา น่อง ขาพับ โคนขา และยังพบได้ที่บริเวณอื่นของร่างกายนอกจากผิวหนัง เช่น รอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร หรือ แขน เป็นต้น
อาการและความรุนแรง
โดยทั่วไปเส้นเลือดขอดมักจะไม่มีอาการอะไร ส่วนมากคนไข้จะมาด้วยปัญหาไม่สวยงาม ความรุนแรงมีตั้งแต่เห็นเส้นเลือดฝอยเล็กๆ แตกคล้ายใยแมงมุม หรือเส้นเลือดขอดที่โป่งพอง ปวดขา ปวดเท้า ขาบวม และเป็นตะคริวในตอนกลางคืน ถ้าเป็นมากๆ อาจมีการอักเสบที่เส้นเลือดขอดที่ผิวหนัง สีผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้น ผิวหนังแห้งแข็ง แตก ไปจนถึงการอักเสบเป็นแผลเรื้อรัง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด
-
อายุ
-
น้ำหนักเกิน
-
กรรมพันธุ์ หากพ่อแม่เป็นเส้นเลือดขอด บุตรมักจะเป็นเส้นเลือดขอด
-
อาชีพ ที่ต้องยืนหรือนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น แพทย์ผ่าตัด หรือ ช่างทำผม
-
เพศ ผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย เพราะความยืดหยุ่นของเส้นเลือดดำขึ้นอยู่กับฮอร์โมนของเพศหญิง โดยเฉพาะผู้หญิงตั้งครรภ์
การรักษา
วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับระยะของการเป็น และความรุนแรงของเส้นเลือดขอด
-
ถ้าอาการไม่รุนแรง แนะนำให้ใส่ถุงน่องชนิดพิเศษที่มีระดับความแน่น (Pressure Gradient) จะช่วยให้เลือดไหลกลับจากส่วนปลายขึ้นมาได้ดีขึ้น
-
การฉีดสารเคมีเข้าเส้นเลือดขอด (Sclerosing Therapy) ในกรณีที่เป็นไม่มาก ไม่ได้เป็นบริเวณเส้นเลือดดำใหญ่ โดยจะฉีดสารเข้าไปในเส้นเลือดขอด ทำให้เส้นเลือดที่ถูกฉีดอุดตันและถูกกำจัดออกไป
-
การใช้เลเซอร์ความร้อน หรือ คลื่นวิทยุความถี่สูง (Radio Frequency) โดยใส่สายขนาดเล็กเข้าไป