รักษาคีลอยด์ โดยแพทย์
"คีลอยด์ (Keloid) หากปล่อยไว้..ไม่รักษา
จะใหญ่ขึ้น และ นูนขึ้น"
คีลอยด์ คือ แผลเป็นที่มีลักษณะ
"นูนเพิ่มขึ้น และขยายขนาดเกินกว่าขอบเขตของแผลเริ่มต้น"
หยุดปัญหา ปรึกษาฟรี ที่เอส คลินิก
ฉีดยาคีลอยด์ เริ่มต้น 500.-
เลเซอร์คีลอยด์ เริ่มต้น 1,000.-
ผ่าตัดคีลอยด์ เริ่มต้น 4,000.-
(รวมค่าแพทย์ ค่ายาชา และตัดไหม)
สามารถส่งรูปให้แพทย์ประเมินการรักษา หรือ นัดหมายปรึกษา (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
ภาพก่อน-หลังการรักษาคีลอยด์
รีวิวจากผู้ใช้บริการ
คีลอยด์ (Keloid)
การป้องกัน
พยายามหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดแผล โดยเฉพาะในคนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นคีลอยด์มากกว่าคนทั่วไป สามารถสังเกตได้จากรอยการฉีดวัคซีนที่บริเวณหัวไหล่ หากพบว่ามีแผลเป็นนูน นั่นหมายถึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นคีลอยด์ได้ง่าย หากพบว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นคีลอยด์ได้ง่ายจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดแผล หากมีแผลเกิดขึ้น จะต้องดูแลและทำความสะอาดแผลอย่างดี ไม่แกะเกาจนแผลลุกลามติดเชื้อ จะช่วยลดโอกาสการเกิดคีลอยด์ได้
คีลอยด์ อาจเกิดขึ้นทันทีที่แผลหาย หรือหลังจากที่แผลหายดีแล้วระยะเวลาหนึ่ง อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีในการก่อตัว ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา แผลเป็นคีลอยด์จะขยายขนาดใหญ่ขึ้น
-
คีลอยด์สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย ตำแหน่งในร่างกายที่พบได้บ่อย ได้แก่ หัวไหล่ ติ่งหู หน้าอก บริเวณหลังส่วนบนและบริเวณอวัยวะที่ขยับหรือเคลื่อนไหวบ่อย
-
พบในคนที่มีสีผิวเข้มมากกว่าผิวขาวถึง 5 เท่า
-
พบในวัยรุ่นมากกว่าผู้ใหญ่หรือวัยชรา
-
มักพบในคนที่มีประวัติการเกิดคีลอยด์ในครอบครัว
สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แท้จริง เชื่อว่าคีลอยด์เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการหายของแผลตามธรรมชาติ โดยจะมีการสร้างคอลลาเจนเพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหายมากเกินกว่าปกติ โดยคีลอยด์จะค่อยๆ ขยายขนาดและนูนขึ้นกว่าแผลเริ่มต้น
อาการ
ส่วนใหญ่มีอาการคันที่คีลอยด์ มากน้อยขึ้นกับแต่ละบุคคล การเกาจะทำให้คีลอยด์นูนและขนาดใหญ่ขึ้น บางคนอาจมีอาการเจ็บและตึงที่คีลอยด์
การรักษา ทำได้หลายวิธี ได้แก่
1. การผ่าตัด ทำโดยผ่าตัดคีลอยด์ออกหรือลดขนาดให้เล็กลง มักใช้ในกรณีที่คีลอยด์มีขนาดเล็กและเกิดในบริเวณที่สามารถเย็บแผลได้ หลังการรักษาโดยการผ่าตัดมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ แพทย์มักทำการผ่าตัดร่วมกับการฉีดยาหรือวิธีการรักษาอื่น
2. Pressure garment คือ ผ้ายืดที่ตัดเพื่อกดรัดบาดแผล โดยใช้แรงกดที่สม่ำเสมอสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อช่วยทำให้แผลเป็นนิ่มและเรียบขึ้น การใช้ Pressure garment ควรเริ่มใช้ทันทีที่บาดแผลหายสนิท โดยใส่ต่อเนื่องอย่างน้อย 16-20 ชั่วโมงต่อวันเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
3. การฉีดยา เป็นการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปที่คีลอยด์โดยตรง (Intralesional steroid injection) โดยฉีดต่อเนื่องทุก 1 เดือน ทั้งนี้ความถี่ในการฉีดขึ้นอยู่กับการตอบสนองของคีลอย์ต่อยา การรักษาด้วยการฉีดยาเข้าไปที่คีลอยด์อาจใช้เป็นการรักษาเดี่ยวๆ หรือรักษาร่วมกับวิธีอื่น เช่น ฉีดหลังผ่าตัด ซึ่งพบว่าลดอัตราการกลับมาเป็นอีก (recurrence rate) ได้เฉลี่ยถึง 50%
4. Topical Silicone gel การใช้ Silicone gel จะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับแผล โดยรูปแบบที่ใช้มีทั้งแบบที่เป็นเจลทาแผล หรือเป็นแผ่นปิดแผล ซึ่งต้องปิดอย่างน้อย 12-24 ชั่วโมงต่อวัน หรือเว้นเฉพาะเวลาอาบน้ำ การใช้ Silicone gel สามารถใช้เป็นการรักษาเดี่ยว หรือใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น
5. การรักษาด้วยเลเซอร์ มีการนำเลเซอร์ดาย์ (Pulsed Dye Laser) มารักษา
แผลเป็นนูนและ คีลอยด์ เลเซอร์สามารถช่วยให้แผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ราบลงได้ในระดับหนึ่ง แต่มักจะไม่ราบสนิท และแผลเป็นมีโอกาสที่จะกลับนูนขึ้นมาอีกเช่นกัน เพราะเชื่อว่าแสงเลเซอร์ชนิดนี้จะไปทำลายหลอดเลือดที่มาเลี้ยงแผลเป็น ทำให้แผลเป็นฝ่อลง ในทางปฏิบัติแพทย์มักรักษาแผลเป็นนูนโดยใช้เลเซอร์ควบคู่ไปกับการฉีดยาเข้าไป
6. การฉายรังสี เพื่อป้องกันไม่ให้คีลอยด์นูนขึ้นและขยายใหญ่ขึ้น นิยมใช้หลังการผ่าตัดคีลอยด์ พบว่ามีประสิทธิภาพการรักษาสูงถึง 65-99% ไม่นิยมใช้เป็นการรักษาเดี่ยว (monotherapy) เนื่่องจากต้องใช้รังสีในปริมาณสูงมาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังตามมาได้
ปัจจุบันพบว่ายังไม่มีวิธีการรักษาแผลเป็นคีลอย์วิธีใดที่ได้ผลดีที่สุด การรักษาคีลอยด์ที่ดีที่สุดจึงเป็นการใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน เช่น การผ่าตัดร่วมกับฉีดยาเข้าไปที่คีลอยด์ หรือ การฉีดยาเข้าไปที่คีลอยด์ร่วมกับการใช้แผ่นซิลิโคนแปะ เป็นต้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม