กำจัดไฝ / ขี้แมลงวัน
โดยแพทย์
เพื่อการตัดสินใจ
**ประกันการรักษา..โดยเก็บซ้ำภายใน 3 เดือน**
ปลอดภัย ปรึกษาฟรี พร้อมประเมินค่าใช้จ่าย
เลเซอร์ไฝ / ขี้แมลงวัน /ผ่าตัดไฝ
**เลเซอร์ไฝ เริ่มต้นที่ 500.-
**ผ่าตัดไฝ เร่ิมต้นที่ 2,500.-
ภาพก่อน-หลัง การกำจัดไฝ/ขี้แมลงวัน
ไฝ / ขี้แมลงวัน
ไฝ เป็นเนื้องอกผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดจากการรวมกลุ่มของเซลล์สร้าง เม็ดสี(Melanocyte) จนเกิดเป็นจุดไฝที่มีสีเข้ม อาจเป็นสีน้ำตาลหรือดำ และมีลักษณะเรียบหรือนูนก็ได้ (ไฝที่มีลักษณะเรียบ คนไทยเรียกว่า "ขี้แมลงวัน")
ไฝบางประเภทอาจกลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้
สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด ไฝที่มีลักษณะต้องเฝ้าระวังว่าจะเป็นมะเร็ง ได้แก่
-
รูปร่างของไฝไม่สมมาตรกัน
-
ผิวขรุขระ ไม่เรียบ ขอบเขตไฝไม่สม่ำเสมอ และไม่ชัดเจน
-
สีของไฝไม่สม่ำเสมอ มีหลายสี เช่น มีทั้งสีดำ สีน้ำตาลในไฝเม็ดเดียวกัน
-
ขนาดใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร
-
ไฝที่มีการเปลี่ยนแปลงของสี รูปร่าง ขนาด โตเร็วผิดปกติ หรือมีเลือดออก
หากพบความผิดปกติเหล่านี้แม้เพียง 1 อาการ
ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
วิธีการกำจัดไฝ
ในการเลือกวิธีกำจัดไฝ แพทย์จะประเมินจากขนาด ชนิด โอกาสเกิดแผลเป็น หรือ
รอยดำรวมถึงความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
การกำจัดไฝ มีหลายวิธี
1.ไฝธรรมดา กำจัดได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
-
กำจัดโดยจี้ด้วยไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้าเข้าไปทำลายเซล์ไฝ โอกาสเกิดแผลเป็นและ รอยดำสูงกว่าการกำจัดไฝด้วยเลเซอร์(ในทางการแพทย์ ปัจจุบันไม่นิยมรักษาด้วยวิธีนี้)
-
กำจัดด้วยความเย็น (Liquid nitrogen) โอกาสเกิดแผลเป็นและรอยดำสูง (ในทางการแพทย์ ปัจจุบันไม่นิยมรักษาด้วยวิธีนี้)
-
กำจัดโดยการจี้ด้วยกรด กรดจะกัดทำลายผิวเกินกว่าบริเวณที่ต้องการรักษา โอกาสเกิดแผลเป็นและรอยดำสูง (ทางการแพทย์ ปัจจุบันไม่นิยมรักษาด้วยวิธีนี้)
-
การผ่าตัดไฝ เป็นวิธีการที่สามารถกำจัดไฝได้ทั้งไฝขนาดเล็ก และ ไฝขนาดใหญ่ โดยทั่วไปจะทำในไฝขนาดใหญ่และรากลึก และทำในไฝที่ต้องการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ เพื่อวิเคราะห์ว่าเป็นเซลมะเร็งหรือไม่
-
กำจัดไฝด้วยเลเซอร์ เลเซอร์ที่นิยมใช้ในการกำจัดไฝในปัจจุบัน คือ เลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 laser) จะเป็นเครื่องที่ให้ความร้อนสูง ทำให้ของแข็งเกิดการระเหิดกลายเป็นไอ โดยลำแสงของเลเซอร์ CO2 จะเล็กมาก มีความแม่นยำสูง ทำให้ สามารถเลือกตำแหน่งที่ต้องการยิงเลเซอร์ได้แบบเฉพาะเจาะจง ไม่มีเลือดออก มีเพียงสะเก็ดแผล ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ปลอดภัย แผลเล็ก เหมาะกับไฝที่มีขนาดเล็กถึงปานกลาง โอกาสเกิดแผลเป็นต่ำ ที่สำคัญต้องได้รับการ รักษาจากแพทย์ผู้มีประสบการณ์
2.กรณีไฝมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
กำจัดไฝอย่างไรไม่ให้เกิดแผลเป็น
-
แพทย์จะต้องมีความรู้และประสบการณ์ เกี่ยวกับผิวหนัง เช่น ต้องรู้ว่าไฝที่ต้องการกำจัดอยู่ลึกระดับไหนของผิวหนัง และต้องรู้ความลึกของผิวหนังที่ควรจะหยุดเลเซอร์ เพื่อไม่ให้เกิดแผลเป็น
-
แพทย์จะต้องมีความรู้และประสบการณ์ เกี่ยวกับเลเซอร์ เช่น ในการยิงเลเซอร์การเคลื่อนมือจะต้องสม่ำเสมอ หากยิงจุดเดียวนานเกินหรือเคลื่อนมือไม่ทัน จะทำให้จี้ลึกเกินทำให้เกิดเป็นแผลเป็นได้ นอกจากนี้จะต้องตั้งค่าพลังงานที่เหมาะสมกับไฝที่ต้องการกำจัด
-
เครื่องเลเซอร์ Co2 ที่มีประสิทธิภาพ
หมายเหตุ: ก่อนการรักษา ควรแจ้งประวัติเกี่ยวกับแผลเป็นแก่แพทย์ เช่น เป็นแผลเป็นง่าย,ประวัติแผลเป็นคีลอยด์
สิ่งที่ควรรู้ก่อนกำจัดไฝ
-
ควรเลือกกำจัดไฝโดยแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือ คลินิกเวชกรรม ที่แพทย์มีความรู้และประสบการณ์
-
กรณีเป็นการกำจัดไฝด้วยเลเซอร์ เลเซอร์ที่นิยมใช้ในการกำจัดไฝในปัจจุบัน คือ เลเซอร์ CO2 มีความแม่นยำสูง ไม่ก่อให้เกิดอันตราย และโอกาสเกิดแผลเป็นต่ำ
-
ไม่ควรกำจัดไฝด้วยตนเอง หรือ ด้วยวิธีที่ทางการแพทย์ปัจจุบันไม่นิยม เพราะมีโอกาสทำให้เกิดแผลเป็น และ รอยดำสูง
ขั้นตอนการกำจัดไฝด้วยเลเซอร์ CO2
-
ทายาชาทิ้งไว้ประมาณ 45 นาที หรือ ฉีดยาชาบริเวณที่จะทำเลเซอร์
-
แพทย์ทำการยิงเลเซอร์ ประมาณ 5-30 นาที ขึ้นอยู่กับจำนวนเม็ดไฝ
-
หลังเลเซอร์จะเป็นแผลขนาดเท่ากับไฝ พนักงานจะทายาป้องกันการติดเชื้อที่แผล
การดูแลแผลหลังทำเลเซอร์ CO2
-
ห้ามแผลโดนน้ำประมาณ 48-72 ชั่วโมง
-
ทายาที่แพทย์จ่ายให้ วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น ติดต่อกันจนกว่าสะเก็ดหลุดหมด
-
ห้ามแกะ เกาให้สะเก็ดหลุด ควรปล่อยให้สะเก็ดหลุดเอง
-
ทาครีมกันแดดทุกวันหลังทายา และควรหลีกเลี่ยงแสงแดด
ขั้นตอนการผ่าตัดไฝ (Nevus)
-
ฉีดยาชาบริเวณไฝ และ ผิวหนังโดยรอบ รอจนยาชาออกฤทธิ์
-
แพทย์ผ่าตัดไฝ ลงลึกถึงชั้นรากของไฝเพื่อเก็บออกทั้งหมด
-
ตรวจสอบอีกครั้งว่าตัดไฝออกหมดแล้ว
-
เย็บแผล
-
กรณีไฝมีขนาดใหญ่ แพทย์อาจนัดทำการผ่าตัดมากกว่า 1 ครั้ง
หมายเหตุ: ถ้าไฝมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง แพทย์จะส่งต่อชิ้นเนื้อไฝที่ผ่าตัดไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางด้านชิ้นเนื้อผิวหนัง
การดูแลแผลหลังผ่าตัดไฝ
-
หลังผ่าตัด อาจยังคงมีอาการชาบริเวณแผลเนื่องจากยาชา ซึ่งจะค่อย ๆ หายไปภายใน 1-2 ชั่วโมง
-
หลังผ่าตัด อาจพบมีเลือดซึมออกมาที่ผ้าก๊อซ ถ้าเลือดซึมออกมามาก หรือ ไหลไม่หยุด ให้รีบกลับมาพบแพทย์
-
หากมีอาการปวดแผล สามารถรับประทานยาแก้ปวด พาราเซตามอล 500มก. 1 เม็ด ทุก4-6 ชั่วโมง**หลีกเลี่ยงการรับประทานยากลุ่มแอสไพริน หรือ กลุ่ม NSAIDS
-
หลีกเลี่ยงการโดนน้ำ กรณีต้องการอาบน้ำ ป้องกันโดยปิดแผลด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ
-
รับประทานยาฆ่าเชื้อติดต่อกันทุกวันตามที่แพทย์สั่ง
-
มาตัดไหมตามที่แพทย์นัดหมาย โดยทั่วไปจะนัดตัดไหม 7-14 วัน หลังผ่าตัด การตัดไหมก่อน หรือ หลัง อาจทำให้แผลที่เย็บไว้ไม่ติด
-
กรณีมีไข้ หรือ มีอาการปวด บวม แดง มีหนองซึมบริเวณที่ผ่าตัด ให้รีบกลับมาพบแพทย์